E-800 vs. E5000 – ปรากฏการณ์ Accuphase กินรวบ.!!!

อินติเกรตแอมป์รุ่น E-800 ของ Accuphase (REVIEWที่ปล่อยตัวออกมาครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2019 เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่แอคคิวเฟสทำออกมาเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของแบรนด์ ส่วนอินติเกรตแอมป์รุ่น E5000 ที่ออกมาครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในปี 2021 เป็นผลิตภัณฑ์ตัวที่ 4 ในกลุ่มที่ออกมาฉลองครบ 50 ปีของแบรนด์ ทางบริษัท ไฮเอ็นด์ ออดิโอ ตัวแทนจำหน่าย Accuphase ในเมืองไทยตั้งราคาขาย E-800 อยู่ที่ 450,000 บาท ในขณะที่ราคาของ E5000 ตัวใหม่ล่าสุดราคาอยู่ที่ 390,000 บาท (ช่วง pre-order ทำโปรฯ อยู่ที่ 345,000 บาท) นั่นทำให้ทั้ง E-800 และ E5000 วางตัวเองอยู่ในระดับ Hi-End ทั้งคู่ (ระดับไฮเอ็นด์ฯ มีเร้นจ์ราคาอยู่ระหว่าง 100,000 – 500,000 บาท / เครื่อง)

E5000 เพิ่งเปิดตัวออกมาในไทยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งราคาขายของ E5000 ถูกกำหนดไว้ ต่ำกว่าE-800 ลงมานิดหน่อยประมาณสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ (450,000390,000 = 60,000 บาท) ซึ่งถือว่าไม่ต่างกันมาก เลยทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทาง Accuphase มีความคิดอย่างไรในการเปิดตัว E5000 ออกมาในครั้งนี้.? ในเมื่อราคาไม่ต่างจากรุ่น E-800 มาก จะไม่เป็นการตีกันกันเองหรือ.?

ขนาด + รูปร่างหน้าตา

จะวิเคราะห์หาคำตอบ ก็ต้องเริ่มด้วยการหยิบเอารายละเอียดของอินติเกรตแอมป์สองตัวนี้มาวางเทียบกัน โดยดูจากขนาดตัวถังและรูปร่างหน้าตาภายนอกกันก่อน ซึ่งเป็นอะไรที่มองเห็นง่ายที่สุด

ตัวถังของอินติเกรตฯ รุ่น E-800 เป็นอะไรที่บึ้กมาก ใหญ่สุดเท่าที่เคยเห็นมา ตัวถังของ E5000 มีความกว้างและความลึกเท่ากับรุ่น E-800 เป๊ะๆ ในขณะที่ความสูงของ E5000 จะต่ำกว่า E-800 อยู่สองเซ็นต์กว่าๆ (23.921.1 = 2.8 ..) ดูเผินๆ ตัวถังของ E5000 จึงดูเล็กกว่า E-800 นิดนึง (จริงๆ แล้วตัวถังของ E5000 ก็ใหญ่กว่าอินติเกรตฯ รุ่นอื่นๆ ของแอคคิวเฟสนิดนึงอยู่แล้ว) แต่จะว่าไปแล้ว สัดส่วนตัวถังของ E5000 จะดูสมส่วนกว่า E-800 นะ ส่วนน้ำหนัก ตัว E5000 จะเบากว่า E-800 นิดหน่อย (3633.8 = 2.2 กิโลกรัม) สรุปประเด็นสัดส่วนและน้ำหนักเครื่องระหว่าง E-800 กับ E5000 ไม่ถือว่ามีนัยยะสำคัญอะไร

นอกจากสัดส่วนและน้ำหนักแล้ว มาพิจารณาดีไซน์หน้าตาดูบ้าง ซึ่งหน้าตาของ E5000 กับ E-800 ก็ออกมาโทนเดียวกันเลย เป็นโทนเอกลักษณ์ของแอคคิวเฟส ทั้งสีสันและตำแหน่งจัดวางฟังท์ชั่นใช้งานบนหน้าปัดของทั้งสองรุ่นนี้แทบจะเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ต่างกันมีอยู่แค่จุดเดียว นั่นคืออินดิเคเตอร์หรือตัวแสดงสถานะของกำลังขับ ซึ่งตัว E5000 แสดงเป็นเข็ม VU สองอันแกว่งไปแกว่งมา ในขณะที่ E-800 แสดงด้วยไฟแอลอีดีสองแถววิ่งในแนวนอน สำหรับคนที่ชอบดูเข็มกระดิกคงถูกใจกับ E5000 แต่ถ้าไม่อยากเห็นทั้งเข็มและไฟแอลอีดีรบกวนสายตาก็สามารถปิดได้ ประเด็นนี้ไม่ถือว่าใครเหนือกว่าใคร ยกให้เป็นเรื่องของลางเนื้อชอบลางยามากกว่า รสนิยมใครรสนิยมมัน

อินพุต + เอ๊าต์พุต

เหลียวไปดูบั้นท้ายของ E-800 กับ E5000 แล้วต้องบอกว่าแทบจะถอดแบบกันมาเลย เหมือนกันยังกะแกะทั้งรูปแบบขั้วต่อและตำแหน่งติดตั้งขั้วต่ออินพุต/เอ๊าต์พุต ซึ่งความแตกต่างมีอยู่แค่จุดเดียว คือรุ่น E-800 มีอินพุตบาลานซ์ XLR สำหรับสัญญาณขาเข้าอะนาลอกมาให้ 2 ชุด ในขณะที่รุ่น E5000 มีให้แค่ชุดเดียว นอกนั้นเหมือนกันทุกอย่าง คือมีฟังท์ชั่น Pre-Out กับ Main-in หรือเพาเวอร์แอมป์อินพุตมาให้เหมือนกันทั้งคู่ เป็นฟังท์ชั่นที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถอัพเกรดได้ทั้งภาคปรีแอมป์ และภาคเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งในแง่นี้ก็ไม่นับว่าต่างกัน เพราะนอกจากอินพุตอะนาลอกที่มีให้แล้ว ทั้งสองรุ่นยังให้ช่องสล็อตสำหรับใส่แผง Phono และ DAC เพิ่มเติมได้อีก ในแง่ Input/Output สำหรับ E-800 และ E5000 ถือว่าอยู่ในระดับเพอร์เฟ็กต์ทั้งคู่

สมรรถนะ

นี่น่าจะเป็นประเด็นที่ส่งผลให้ เสียงของ E-800 กับ E5000 มีความแตกต่างกันมากที่สุด ภาพบนเป็นภาพเปิดฝาเครื่องแสดงการจัดวางอุปกรณ์ภายใน ซึ่งดูจากภาพแล้วจะเห็นว่าเลย์เอ๊าต์มันออกมาเหมือนกันเลย ตำแหน่งของอุปกรณ์หลักๆ จะเหมือนกันแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหม้อแปลง, ตำแหน่งแคปาซิเตอร์, ตำแแหน่งฮีทซิ้งค์, ตำแหน่งติดตั้งขั้วต่อต่างๆ ซึ่งความแตกต่างจะเกลี่ยอยู่ทั่วไป สังเกตจากกรอบสีต่างๆ ที่วงไว้ให้ ซึ่งเป็นความแตกต่างในจุดย่อยๆ เท่านั้น

ความแตกต่างที่มีน้ำหนักต่อเสียงมากที่สุดอยู่ในวงรีสีเขียว ซึ่งเป็นตำแหน่งติดตั้งตัวทรานซิสเตอร์ (ศรชี้) ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ จากภาพจะสังเกตเห็นว่า ตัว E-800 ใช้ทรานซิสเตอร์ที่ระบุว่าเป็น MOSFET จำนวน 6 คู่ในการขยายสัญญาณโดยจัดวงจรขยายแบบ push-pull Class-A ในขณะที่ E5000 ใช้ทรานซิสเตอร์ (ไม่ได้ระบุประเภท) จำนวน 5 คู่ จัดวงจรขยายแบบ push-pull Class-AB

ความแตกต่างของจำนวนทรานซิสเตอร์ที่ใช้ระหว่าง 6 คู่ (E-800) กับ 5 คู่ (E5000) + วงจรขยายระหว่าง Class-A (E-800) กับ Class-AB (E5000) และแคปาซิเตอร์ในภาคจ่ายไฟที่ไม่เท่ากันระหว่าง 60,000 ไมโครฟารัด (E-800) กับ 40,000 ไมโครฟารัด (E5000) ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อ กำลังขับของอินติเกรตแอมป์ทั้งสองตัวนี้อย่างชัดเจน จากภาพข้างบน จะเห็นว่า ตัว E-800 มีความสามารถต่อสู้กับโหลดของลำโพงตั้งแต่ 8 โอห์ม (50- max 90 วัตต์/ข้าง) ลงไปถึง 1 โอห์ม (300-max 360 วัตต์/ข้าง) ในขณะที่ E5000 ระบุกำลังขับที่โหลด 8 โอห์ม อยู่ที่ 240 วัตต์/ข้าง และสวิงเพิ่มได้ถึง 320 วัตต์/ข้าง ที่โหลด 4 โอห์ม

วัตต์สูงกว่าดีกว่าใช่มั้ย.? ไม่เสมอไป ใช้หลักคิดแบบนั้นไม่ได้ แม้ว่าตัวเลขกำลังขับของแอมป์จะส่งผลโดยตรงกับคุณสมบัติทางด้าน dynamic range ของเสียงก็ตาม แต่เนื่องจาก ความดัง” หรือไดนามิกเร้นจ์ของเสียงมีทั้งคุณสมบัติทางด้าน “dynamic transient” (ฉับพลัน = ตี, เคาะ, เขย่า) และ “dynamic contrast” (ต่อเนื่อง = สี, เป่า, ร้อง) ผสมรวมกันอยู่ ซึ่งแอมป์ Class-A จะนำเสนอคุณสมบัติทางด้านความต่อเนื่องออกมาได้ดี แต่เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านไดนามิก ทรานเชี้ยนต์ที่สวิงกว้างๆ จะกินกำลังขับของแอมป์สูงมาก ซึ่งเป็นจุดอ่อนของแอมป์ Class-A เพราะการดีไซน์วงจรขยายแบบ Class-A ที่มีกำลังขับสูงๆ ต้องใช้ทรัพยากรเยอะมาก ในกรณีที่ใช้ทรัพยากรเท่าๆ กัน การใช้วงจรขยายแบบ Class-A จะทำให้ได้กำลังขับออกมา ต่ำกว่าการใช้วงจรขยายแบบ Class-AB มาก

ส่วนแอมป์ที่ใช้วงจรขยายแบบ Class-AB ที่มีกำลังขับสูงจะให้คุณสมบัติทางด้านทรานเชี้ยนต์ ไดนามิกหรือสัญญาณฉับพลันที่ดี แต่ในแง่ของความต่อเนื่อง (ไดนามิกคอนทราสน์) จะเป็นรองแอมป์ที่ใช้วงจรขยายแบบ Class-A

กำลังขับของ E5000 มากกว่า E-800 ประมาณ 5 เท่า ซึ่งเชื่อว่าประเด็นของ วงจรขยายกับ กำลังขับที่ต่างกันนี้น่าจะแสดงผลทางเสียงที่แตกต่างกันออกมาให้ได้ยินค่อนข้างชัด ส่วนสเปคฯ ด้านอื่นๆ อาทิเช่น ความถี่ตอบสนอง (frequency response), ความสามารถในการหยุดยั้งกรวยลำโพง (damping factor), ความเพี้ยนที่พ้องกับสัญญาณ (IMD) และความเพี้ยนฮาร์มอนิกรวม (THD) วัดออกมาได้เท่ากันหมด

สรุป

หลังจากพิจารณาเทียบกันในทุกแง่มุมแล้ว จะเห็นว่า ความแตกต่างหลักๆ ของ E-800 กับ E5000 จะอยู่ที่ รูปแบบของวงจรขยายกับ ตัวเลขกำลังขับแค่สองประเด็นนี้เท่านั้น ซึ่งดูๆ ไปแล้ว เหมือนกับว่าทาง Accuphase จะตั้งใจสร้างอินติเกรตแอมป์ 2 ตัวนี้ขึ้นมาเพื่อให้มันทั้งคู่เป็นตัวแทนของแอมป์ที่ใช้วงจรขยาย Class-A และ Class-AB นั่นเอง ทำไมต้องทำแบบนี้.? ทำไมไม่เลือกวงจรขยายแบบ Class-A ทั้งสองตัว หรือเลือกใช้วงจรขยายแบบ Class-AB ทั้งสองตัว.? คำตอบก็อย่างที่เกริ่นไว้ในย่อหน้าก่อน เหตุผลก็เพราะว่า วงจรขยาย Class-A และ Class-AB ต่างก็มีจุดแข็งจุดอ่อนไปคนละด้าน ไม่สามารถตัดสินได้ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน เป็นแบบนี้มานานแล้ว ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่า ในตลาดแอมปลิฟายปัจจุบันจึงมีทั้งแอมป์ Class-A และแอมป์ Class-AB ให้เลือกทั้งสองแบบ ถ้าคนออกแบบมีความเข้าใจและออกแบบ+ปรับจูนออกมาได้อย่างถูกต้องจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Class-A หรือ Class-AB เขาก็สามารถดึงจุดแข็งของแต่ละคลาสออกมาโชว์ได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ในแง่ของจุดอ่อนของวงจรขยายแต่ละคลาสก็จะยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งที่ผ่านๆ มา ผู้ฟังจะสามารถเลือกแบบใดแบบหนึ่งได้ด้วยการทดลองฟังด้วยแนวเพลงที่ตัวเองชอบ และอาศัยการแม็ทชิ่งกับลำโพงเป็นข้อมูลในการตัดสินเลือก

สำหรับคุณ ถ้าอยากจะรู้ว่า E-800 หรือ E5000 ตัวไหนที่เหมาะกับคุณมากกว่ากัน ตอนนี้น่าจะเหลือแค่วิธีเดียวที่จะตัดสินได้อย่างเด็ดขาด นั่นคือพกหูกับเพลงที่คุณชอบไปลองฟังเทียบกันให้หายคาใจไปเลย..!!! /

********************
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
. HI-END AUDIO
โทร. 02-101-1988
facebook: @hiendaudiothailand
********************
เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
Accuphase แบรนด์ไฮเอ็นด์ของญี่ปุ่นที่เกิดจากแรงปรารถนาของความเป็นที่สุด!

mm

About ธานี โหมดสง่า

View all posts by ธานี โหมดสง่า