เรื่องราวโดยย่อ ของ George Polychronidis ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมออกแบบอินติเกรตแอมป์ Moonriver Audio รุ่น Model 404

“.. ครอบครัวของผมมีชุดเครื่องเสียงไฮไฟก่อนที่ผมจะลืมตาดูโลกซะอีก และสิ่งนี้มีผลกระทบกับตัวผมอย่างมาก พูดได้ว่า ผมเติบโตขึ้นมาท่ามกลางแผ่นเสียงไวนิลกับชุดเครื่องเสียงไฮไฟนั่นเอง เรื่องราวทั้งหมดมันเริ่มต้นขึ้นตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นในช่วงกลางยุค 80 เป็นช่วงที่ผมจับหัวแร้งตัวแรกเพื่อลงมือทำวิทยุ FM ผมยอมรับว่าหลงรักเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตลอด ตั้งแต่ผมยังเป็นเด็ก แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็น ดนตรี กับ เสียง ที่ผมหลงไหล ผมมีอัลบั้มแรกเป็นเทปเมื่อปี 1979 ตั้งแต่นั้นมาผมก็ไม่เคยหยุดซื้อแผ่นเสียงและซีดีเลย..”

ผมใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการฟังเพลง ดูคอนเสิร์ต และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเสียง จริงๆ แล้วผมควรจะไปประกอบอาชีพเป็นซาวนด์เอนจิเนียร์ เพราะผมเคยนั่งฟังและวิเคราะห์งานบันทึกเสียงทุกชุดที่ พูดกับผมได้เป็นเดือนๆ ในไม่ช้าผมก็จมอยู่กับมนต์ของเสียงและสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นความหลงใหลในที่สุด

ผมมีพื้นฐานเป็นอินดัสเชี่ยลดีไซน์และนักออกแบบอินเตอร์เฟซสำหรับผู้ใช้ และยังเป็นวิศวกรทางด้านไฮไฟฯ ด้วย นอกจากนั้นผมยังได้ซ่อม, ทดสอบ และลองฟังเครื่องขยายเสียงวินเทจ, เครื่องหลอดและโซลิดสเตท, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, เครื่องบันทึกเทป และอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่นๆ อีกหลายร้อยรายการ อาชีพของผมในฐานะวิศวกรเครื่องเสียง และนักออกแบบสาขาอินดัวเชี่ยลดีไซน์ ทำให้ผมมีโอกาสสั่งสมประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาแบรนด์ Moonriver Audio ขึ้นมา

โปรเจคสำหรับการทำ Model 404 เริ่มต้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในอดีต ผมเคยออกแบบและผลิตแอมพลิฟายเออร์, ปรีแอมปลิฟายฯ และโฟโนสเตจจำนวนมากโดยใช้หลอดหรือวงจรโซลิดสเตต ซึ่งทำไว้สำหรับใช้ส่วนตัวและทำให้กับลูกค้าบางราย การตัดสินใจเริ่มพัฒนา Moonriver Audio Model 404 เกิดขึ้นเมื่อผมมีความคิดว่า ทั้งความคิดและประสบการณ์ของผมโตพอที่จะทำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอย่างจริงจังแล้ว

แนวคิดคือการสร้างแอมปลิฟายเออร์ที่น่าพึงพอใจ ใช้งานง่าย มีความยืดหยุ่นสูง และมีราคาไม่แพง ที่สามารถใช้กับลำโพงทั่วไปจนถึงลำโพงที่มีความไวต่ำเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพสูง เป็นแอมปลิฟายสำหรับการใช้งานในชีวิตจริง นี่ไม่ใช่งานที่ง่ายเลย อุปสรรคหลักๆ ก็คือข้อจำกัดทางด้านราคาและคำว่า ทำในยุโรปนี่แหละ

Moonriver Audio Model 404 ได้รับการวิจัยในทุกรายละเอียดที่เป็นไปได้ ผมคิดว่า ไดนามิกเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดในการสร้างเสียงออกมาจากสื่อบันทึก รองลงมาคือ ความโปร่งใสและ โทนเสียงที่ไม่มีสีสัน ตัวอย่างเช่น หากการบันทึก/โปรดักชั่นทำอย่างถูกต้อง เปียโนควรให้เสียงเหมือนเปียโน ซึ่งหมายถึงมาตราส่วน, ความแตกต่างระหว่างโน้ต, ความเสื่อมของแต่ละโน้ต และคอนทราสต์ระดับไมโครไดนามิกระหว่างที่แทรกอยู่ระหว่างระดับเสียงที่สูงกว่าและต่ำกว่า สำหรับกีตาร์โปร่ง คุณก็ควรจะได้ยินความแตกต่างระหว่างสายไนลอนหรือสายโลหะได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ในวงออเคสตราหรือวงดนตรีขนาดใหญ่ คุณควรแยกแยะเครื่องดนตรีต่างๆ ออกจากกันได้ และรับรู้ถึงตำแหน่งของนักดนตรีที่ปรากฏขึ้นในอากาศได้ด้วย

รายละเอียดเสียงที่มีระดับความดังต่ำๆ อย่างเช่นเสียงซ่าของเนื้อเทปที่อยู่ในงานบันทึกเสียงเก่าๆ, เสียงรบกวนเบาๆ ที่ถูกบันทึกมา ตลอดจนเสียงที่เกิดจากข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ในการมิกซ์ หรือเสียงที่แตกต่างกันในแต่ละเทคของการบันทึกก็ควรจะถูกเปิดเผยออกมาโดยไม่มีลักษณะที่ถูกเน้นมากเกินไป ความโปร่งใสมีหมายความว่า แผ่นเสียงทุกแผ่น รวมถึงแผ่นซีดีแต่ละแผ่นควรจะให้เสียงที่แตกต่างกัน และนี่คือการทดสอบคุณภาพของแหล่งที่มาของเพลงและลำโพง เพื่อให้ได้คุณภาพระดับนี้ ทุกองค์ประกอบของ Moonriver Audio Model 404 จึงได้ถูกคัดเลือกมาใช้ในการผลิต หลังจากผ่านการทดสอบด้วยการฟังอย่างเข้มข้นในระดับของความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างมีความสำคัญต่อเสียง

มีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ทำสำเร็จเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการซ่อมแซม แตกต่างจากแอมปลิฟายเออร์อื่นๆ Moonriver Audio ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายทศวรรษ เนื่องจากประสบการณ์ในการซ่อมของผม และยังทำให้ง่ายต่อการบริการซ่อมแซมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้เฉพาะส่วนประกอบแบบแยกชิ้นเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ไอซี เนื่องจากมีตัวเลือกต่างๆ มากกว่า และมีความทนทานต่อการใช้งานสูงกว่า ไม่มีฟังก์ชันสแตนด์บายเพื่อการทำงานที่เสถียรกว่า

ต่างจากรูปลักษณ์ภายนอกของ Moonriver Audio Model 404 ก็คือภายในที่เรียบง่ายอย่างยิ่งและเป็นไปตามแนวทางของเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ฯ นั่นคือเส้นทางเดินสัญญาณที่สั้นมาก, ใช้ส่วนประกอบน้อยมาก และใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพสูงในเส้นทางเดินสัญญาณ, ไม่ได้ใช้วงจรเรกูเลเตอร์แบบถูกๆ และมีการออกแบบที่เน้นความสามารถในการจ่ายไฟ เพราะภาคจ่ายไฟเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบที่เอาจริงเอาจังทางด้านเสียง เราใช้วิธีแยกภาคจ่ายไฟสำหรับเลี้ยงวงจรแต่ละส่วน โดยเริ่มจากแยกขดลวดบนหม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแปลงแบบบาลานซ์ถูกเชื่อมต่อแบบขนานและไม่มีผลกับเสียง สามารถตัดการเชื่อมต่อได้แม้ในขณะทำงานโดยไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของเสียงเกิดขึ้นเลย.!!

แม้ว่าจะมีชิปไอซีสมัยใหม่สำหรับแอมปลิฟายแบบสเตริโอให้เลือกใช้มากมาย แต่เราเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์โมดูล Class-AB ที่ให้ความยืดหยุ่นสูง และไวต่อส่วนประกอบภายนอกกับภาคจ่ายไฟ นั่นหมายความว่า คุณสามารถปรับจูนเสียงได้ตามรสนิยมของคุณหากคุณรู้วิธีใช้งานมัน ไม่ใช่โมดูลแบบที่มีบุคลิกเสียงตายตัว

ข้อดีอีกประการหนึ่งของโมดูลเหล่านี้คือพวกมันมีความเสถียรอย่างยิ่ง ทั้งทางอิเล็กทรอนิกส์และทางความร้อน มีเส้นทางสัญญาณสั้นมาก ทรานซิสเตอร์ครึ่งหนึ่งถูกปรับแต่งด้วยเลเซอร์ และรวมถึงการป้องกันทั้งหมด เช่น การปิดเครื่องเมื่อมีความร้อนสูงเกิน, ระบบเซอร์โวสำหรับ DC อ๊อปเซ็ต, การป้องกันแรงดันไฟเกิน, การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ฯลฯ มันมีระดับความปลอดภัยที่คุณไม่สามารถหาได้ด้วยการออกแบบด้วยวงจรแบบแยกชิ้นที่เรียกว่า discrete /
*********************
* REVIEW coming soon!
**
ภาพและเรื่องจาก HighFidelity.pl
*********************
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
HiFi House by MSound
โทร. 096-978-7424
facebook

mm

About ธานี โหมดสง่า

View all posts by ธานี โหมดสง่า