ความแตกต่างระหว่าง “ความดัง” กับ “ไดนามิกเร้นจ์”

ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ระหว่างความหมายของ ไดนามิกเร้นจ์กับ ความดังซึ่งทั้งสองคำนี้มีความหมายต่างกัน

ความดัง” – เป็นผลที่เกิดขึ้นกับเสียงอันเนื่องมาจากการเพิ่มปริมาณวอลลุ่ม (อัตราขยายเสียง) ของแอมปลิฟายให้สูงขึ้น (เสียงโดยรวมจะดังขึ้น) หรือ ปรับลดปริมาณวอลลุ่ม (อัตราขยายเสียง) ให้ต่ำลง (เสียงโดยรวมจะเบาลง)

ไดนามิกเร้นจ์” – หมายถึงระดับความแตกต่างระหว่างจุดที่ เบาที่สุดของเสียง กับจุดที่ ดังที่สุดของเสียงในเพลงเดียวกัน เป็นคุณสมบัติที่ได้มาจากสตูดิโอตอนทำมาสเตอร์

การปรับเปลี่ยนปริมาณวอลลุ่มของแอมปลิฟาย จะส่งผลโดยตรงกับ ความดังของเพลง คือดังมากขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณวอลลุ่ม และเบาลงเมื่อลดปริมาณวอลลุ่ม แต่การปรับเปลี่ยนปริมาณวอลลุ่มจะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางด้าน ไดนามิกเร้นจ์ของเพลงนั้น เนื่องจาก การปรับเปลี่ยนปริมาณวอลลุ่มของแอมปลิฟายจะไปส่งผลกับจุดที่เบาที่สุดและจุดที่ดังที่สุดของเพลงนั้น เท่าๆ กันจึงทำให้ความแตกต่างของจุดที่เบาที่สุดกับจุดที่ดังที่สุดของเพลง (หรืออัลบั้ม) นั้นยังคงอยู่ในอัตราส่วนเท่าเดิม

ดูจากภาพตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า สัญญาณเสียงเพลงของอัลบั้ม “The Four Seasonจะมีไดนามิกเร้นจ์ (A) เฉลี่ยอยู่ที่ 14dB หมายความว่า อัตราเฉลี่ยของจุดที่เบาสุดกับจุดที่ดังที่สุดของอัลบั้ม The Four Season จะมีความดังต่างกันเท่ากับ 14dB ในขณะที่ อัตราไดนามิกเร้นจ์เฉลี่ยของอัลบั้ม “Hi-Fi Dance” (A) อยู่ที่ 7dB นั่นก็คือ ไดนามิกเร้นจ์ของอัลบั้มชุด “The Four Seasonสามารถสวิงความดังจากเบาสุดไปดังสุดได้กว้างกว่าอัลบั้มชุด “Hi-Fi Danceถึง 7dB

ส่วนสเปคตรัมที่ตำแหน่ง (B) ของทั้งสองอัลบั้มนี้ แสดงให้เห็นถึงระดับ ความดังของสัญญาณเพลง ซึ่งจะเห็นว่า อัลบั้ม “Hi-Fi Danceให้เกนของสัญญาณ แรงกว่าอัลบั้ม “The Four Seasonอยู่มาก นั่นคือ ถ้าคุณเปิดเพลงทั้งสองอัลบั้มนี้ฟังกับซิสเต็มเดียวกัน และใช้ระดับวอลลุ่มของแอมป์เท่ากัน คุณจะพบว่า อัลบั้ม “Hi-Fi Danceให้ความดังของเสียงออกมาสูงกว่าอัลบั้มชุด “The Four Seasonอย่างชัดเจน /

********************

mm

About ธานี โหมดสง่า

View all posts by ธานี โหมดสง่า