เพิ่ม “ลำโพงซับวูฟเฟอร์” เข้ามาใน “ชุดฟังเพลง สเตริโอ 2 แชนเนล” ตอนที่ 2 : การเลือกลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่เหมาะสมกับลำโพงหลัก

เนื่องจากหน้าที่หลักของลำโพงซับวูฟเฟอร์ก็คือ สร้างความถี่เสียงในย่านต่ำ ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มตั้งแต่ 120Hz ลงไปจนถึงต่ำกว่า 20Hz แต่ก็มีลำโพงซับวูฟเฟอร์บางส่วนที่ถูกออกแบบมาให้สร้างความถี่สูงกว่า 120Hz ขึ้นไป บางตัวสูงถึง 200Hz ก็มี..

Read More

วิธีปรับปรุงคุณภาพเสียงด้วย Dirac Live ที่มากับ Arcam SA30

“Dirac Live” เป็นเทคโนโลยี Room Correction ที่ใช้ในการปรับเสียงของซิสเต็มเครื่องเสียง (ลำโพง+แอมป์+แหล่งต้นทางสัญญาณ) ให้แม็ทชิ่งกับสภาพอะคูสติกของห้อง Dirac Live อยู่ในรูปของซอฟท์แวร์ ทำงานด้วยการวิเคราะห์เสียงของซิสเต็ม+ลำโพงไปพร้อมกับ roommode ของห้องฟัง แล้วทำการขจัดสิ่งที่เป็น “ส่วนเกิน” ที่เกิดขึ้นจาก “ซิสเต็ม+ห้อง” สร้างขึ้น ทำให้ลำโพงกับชุดเครื่องเสียงทำงานได้อย่างลงตัวในสภาพห้องนั้นๆ เป้าหมายเพื่อให้ได้เสียงโดยรวมที่สมบูรณ์แบบ ผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับจูนซิสเต็ม (ลำโพง+เครื่องเสียง) กับห้องฟังด้วย Dirac Live มีอยู่ 3 ประเด็น ที่เด่นชัด …

Read More

“TIDAL Connect” – ฟังท์ชั่นใหม่ของ TIDAL!

ต่อจากนี้ไป คนที่ใช้วิธีฟังเพลงด้วยอุปกรณ์มิวสิค สตรีมเมอร์ผ่านทางเน็ทเวิร์คจะมีแหล่งเก็บไฟล์เพลง Hi-Res แหล่งใหม่ให้สตรีมฟังกันแล้ว.. เมื่อ TIDAL นำเสนอฟังท์ชั่น “TIDAL Connect” ออกมา..

Read More

เทคนิคการเชื่อมต่อสายลำโพงกับลำโพงที่ให้ขั้วต่อแยกมาสองชุด

การปรับจูนเสียงของซิสเต็มเครื่องเสียง สามารถทำได้สองทาง คือ “ปรับจูนภายในซิสเต็มเอง” กับ “ปรับจูนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ภายนอกซิสเต็ม” ซึ่งการปรับจูนภายในซิสเต็มเองมีผลต่อคุณภาพเสียงโดยรวมของซิสเต็มมากกว่าการปรับจูนสภาพแวดล้อมภายนอกซิสเต็มนั้นๆ

Read More

การติดตั้งอุปกรณ์ปรับอะคูสติก – ตอนที่ ๕ : การติดตั้งอุปกรณ์ปรับสภาพอะคูสติกบนผนังด้านข้างซ้าย, ขวา และด้านหลังของตำแหน่งนั่งฟัง

เหตุที่แนะนำให้ทำการปรับเซ็ตสภาพอะคูสติกบริเวณผนังด้านหลังลำโพงเป็นอันดับแรก เพราะผนังด้านหลังลำโพงและบริเวณมุมห้องทั้งสองมุม จะมีอิทธิพลกับเสียงของลำโพงมากกว่าบริเวณอื่นๆ หลังจากทำการปรับสภาพอะคูสติกบนผนังด้านหลังตำแหน่งวางลำโพงแล้ว ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ปรับสภาพอะคูสติกบนผนังด้านข้างซ้าย/ขวา และบนผนังด้านหลังตำแหน่งนั่งฟังเรียงไปตามลำดับ เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ปรับสภาพอะคูสติกจนครบทุกด้านแล้ว จากนั้นก็ทำการ fine tune เพื่อความสมบูรณ์แบบของเสียงเป็นขั้นตอนสุดท้าย

Read More

วิธีทำให้ “แอมป์เซอร์ราวนด์” ใช้ฟังเพลงได้เพราะขึ้นด้วยงบไม่สูง..!!

ถ้าคุณออกไปตะเวณหาแอมป์ดูหนังที่ใช้ฟังเพลงได้ด้วยสักตัว คุณจะเจอกับคำพูดประเภท “แอมป์ดูหนัง ใช้ฟังเพลงไม่ดีหรอก..” พร้อมกับคำแนะนำว่า “ต้องใช้อินติเกรตแอมป์ถึงจะเหมาะ..” จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไรกันแน่.? ที่ว่าแอมป์ดูหนังใช้ฟังเพลงไม่ดี.. หมายความว่าอย่างไร.? มันแย่ขนาดไหน..?? ข้อเท็จจริง เบื้องต้นต้องขอตอบคำถาม “แอมป์เซอร์ราวนด์ ฟังเพลงไม่เพราะ.. จริงมั้ย.?” ซะก่อน ผมขอตอบว่า ทั้งจริง และไม่จริงครับ เพราะคนที่จะตัดสินว่าเพลงที่เปิดฟังจากแอมป์เซอร์ราวนด์มันออกมามัน “เพราะ” หรือ “ไม่เพราะ” ก็คือคนฟังแต่ละคน ซึ่งมีพื้นฐานในการฟังเพลงที่แตกต่างกัน คำตอบที่ว่า “จริง” นั้นเป็นคำตอบสำหรับคนที่เป็นนักฟังเพลงที่มีประสบการณ์ฟังมานาน ฟังเพลงหลายแนว …

Read More

วิธีทำคอมพิวเตอร์ของคุณให้กลายเป็น Music Server ชั้นดี!

ทำไมเราจึงต้องการ Music Server.? ถ้าคุณคิดจะเล่นไฟล์เพลงของคุณด้วยเครื่องเล่นไฟล์เพลงผ่านเน็ทเวิร์คที่มีชื่อเรียกว่าเครื่องเล่น “Network Audio Player” ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย สิ่งสำคัญที่คุณต้องมี นอกจากเครื่องเล่น Network Audio Player ก็คือ “Music Server” ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บไฟล์เพลงของคุณเอาไว้ เพื่อคอยให้เครื่องเล่น Network Audio Player ของคุณดึงไฟล์เพลงเหล่านั้นมาเปิดฟังนั่นเอง

Read More

การติดตั้งอุปกรณ์ปรับอะคูสติก – ตอนที่ ๓ : จุดเริ่มต้นของอุปกรณ์ปรับสภาพอะคูสติก กับแนวคิดในการใช้งาน

ความใส่ใจจริงๆ จังๆ เกี่ยวกับการปรับสภาพอะคูสติกในห้องฟังเกิดขึ้นมานานมากแล้ว จุดกำเนิดแรกคือห้องบันทึกเสียงในสตูดิโอที่มีความพิถีพิถันในการบันทึกเสียงด้วยวิธี Live-Recordings ต่อมาจึงค่อยขยับขยายลงมาในกลุ่มของนักเล่นเครื่องเสียงที่มีความพิถีพิถันเอาจริงเพื่อต้องการทำให้อุปกรณ์เครื่องเสียงแสดงสมรรถนะออกมาได้เต็มที่มากที่สุด

Read More

การติดตั้งอุปกรณ์ปรับอะคูสติก – ตอนที่ ๒ : room modes ต้นตอปัญหาในห้องฟังกับแนวคิดในการแก้ปัญหาในห้องฟัง

ห้องฟังที่ได้มาตรฐานก็คือห้องฟังที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา room modes หรือลักษณะที่กลุ่มของความถี่บางย่านโด่งขึ้นมามากๆ หรือกลุ่มของความถี่บางกลุ่มมีลักษณะจมหายลงไปเป็นหลุม คือเบากว่าความถี่ในย่านอื่นมากๆ ห้องฟังที่สมบูรณ์แบบในอุดมคติคือห้องฟังที่มีความถี่ตลอดย่านที่หูมนุษย์ได้ยิน (ประมาณ 20Hz – 20kHz) มีลักษณะที่ “ดัง” พอๆ กัน ซึ่งหาได้ยากมาก “ถ้า” ไม่ใช่ห้องที่มีสัดส่วนดี และมีการปรับแต่งสภาพอะคูสติกภายในห้องอย่างเหมาะสมจริงๆ

Read More

วิธีฝึกฟังเพื่อแยกแยะรายละเอียดเสียง (Critical Listening #1) – ค้นหาและโฟกัสไปที่แกนนำ

ความจำเป็นสูงสุดสำหรับการเล่นเครื่องเสียงก็คือ “ฟังให้เป็น” ซึ่งไม่ใช่แค่ “ได้ยิน” เสียงเพลงมาเข้าหูเท่านั้น แต่ต้องสามารถแยกแยะ และวิเคราะห์สิ่งที่หูได้ยินออกมาได้ด้วย

Read More