ระหว่าง Dynamic Transient กับ Dynamic Contrast อันไหนควรจะมาก่อน.?

“Dynamic Range” สำหรับวงการเครื่องเสียง มีความหมายถึง “ระดับความกว้างของการปรับเปลี่ยนของความดังของเสียง” ซึ่งการปรับเปลี่ยนของความดังของเสียงนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ “Dynamic Transient” กับ “Dynamic Contrast”

Read More

Stereo vs. Mono เลือกแบบไหนดี.?

เริ่มเป็นปัญหาซะแล้วสำหรับคนที่ต้องเลือกซื้อเครื่องเสียงไปใช้งานในห้องรับแขก เพราะไม่รู้ว่าควรจะตัดสินใจเลือกซื้อแบบไหนดี เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องเสียงออกมาหลากหลายรูปแบบให้เลือก เริ่มตั้งแต่แบบแรก คือ ลำโพง all-in-one แบบ ‘single unit’ คือเป็นระบบลำโพงที่รวมทุกอย่างอยู่ในตัวลำโพงซึ่งสามารถทำงานได้โดยใช้ลำโพงแค่ตัวเดียว โดยพื้นฐานแล้ว ลำโพงแบบนี้จะให้เสียงออกมาเป็นระบบเสียง “โมโน” (mono) แต่ก็สามารถรองรับสัญญาณอินพุตที่เป็นระบบเสียง stereo ได้

Read More

ทึบ – กังวาน – ก้อง 3 คุณสมบัติของเสียง ที่เกี่ยวเนื่องกัน!

เมื่อไหร่จึงเรียกว่าเสียง “ทึบ“, ตอนไหนที่เรียกว่าเสียง “กังวาน” และแบบไหน ยังไงที่เรียกว่าเสียง “ก้อง” ???

Read More

“เงิน” หรือ “ทองแดง”.. คุณชอบแบบไหน.?

สายสัญญาณ รวมถึงสายลำโพง มีผลต่อเสียงมากมหาศาล.!!! นี่คือความจริงที่โหดร้าย ไม่ว่าอุปกรณ์เครื่องเสียงแต่ละชิ้นที่คุณใช้อยู่จะออกแบบมาด้วยเทคโนโลยีที่ดีแค่ไหน ต่อให้เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลก แต่ถ้าอุปกรณ์เครื่องเสียงเหล่านั้นถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายสัญญาณหรือสายลำโพงที่ด้อยคุณภาพ เสียงที่ได้ออกมาจากซิสเต็มหรูๆ ของคุณก็จะถูกทำลายลงไปได้มากกว่าที่คาด.!

Read More

ว่าด้วยเรื่อง “ขนาดของเสียงร้อง” ควรจะอวบใหญ่ หรือเล็กผอม ??

เป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจหลายๆ คน โดยเฉพาะนักเล่นเครื่องเสียงที่เพิ่งเข้ามาในวงการใหม่ๆ กำลังอยู่ในช่วงศึกษาหาแนวทางในการเล่นเครื่องเสียง อาจจะไปได้ยินความคิดเห็นของเพื่อนๆ นักเล่นที่แตกต่างกันเลยทำให้สับสน บางคนก็เน้นว่า เสียงร้องที่ถูกต้องจะต้องมีขนาดกระทัดรัด ไม่บวมหนา ผิดธรรมชาติ ในขณะที่บางคนก็ให้ความเห็นว่า เสียงร้องที่ถูกต้องต้องมีมวลที่อวบใหญ่.. ซึ่งหากคุณ (นักเล่นฯ มือใหม่) ไม่สามารถก้าวผ่านจุดนี้ไปได้ มันจะเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่คอยขวางกั้นแนวทางการเซ็ตอัพลำโพงของคุณอย่างมาก.!

Read More

Focus, Perspective = Soundstage จะรู้ได้อย่างไรว่า “เสียงดี” อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว.?

Audiophile’s journey เป็นการเดินทางเพื่อค้นหาความเป็นที่สุดของเสียง ปลายทางอยู่ที่คำสั้นๆ คือ “เสียงดี” ซึ่งเป็นคำที่สั้นแต่เต็มไปด้วยความหมาย และเมื่อเริ่มออกเดินทาง สิ่งที่ต้องถามหาก็คือ “เข็มทิศ” ซึ่งจะช่วยนำทางให้การเดินทางไปพบกับ “เสียงดี” โดยไม่หลงอยู่ระหว่างทาง

Read More

ลำโพงสองรุ่นที่ตอบสนองความถี่เสียงต่างกันนิดหน่อย เสียงจะต่างกันมากมั้ย.?

เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมลำโพงตั้งพื้นบางคู่ถึงให้เสียงเบส “น้อยกว่า” ลำโพงวางหิ้งบางคู่ซะอีก.? สำหรับคนที่ “ยังไม่เคย” มีประสบการณ์เล่นลำโพงตั้งพื้นมาก่อน คุ้นเคยเฉพาะลำโพงวางขาตั้งขนาดเล็ก เมื่อพูดถึงลำโพงตั้งพื้น สิ่งแรกที่นึกถึงคงจะเป็นเสียงทุ้มที่อิ่มหนา แผ่เต็ม ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่า ลำโพงตั้งพื้นในโลกนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ ไม่จำเป็นที่ลำโพงตั้งพื้นจะต้องให้เสียงทุ้มมโหฬารบานเบอะเสมอไป ในโลกนี้มีลำโพงตั้งพื้นที่ให้เสียงเบสน้อยๆ อยู่เยอะไป การที่ลำโพงตั้งพื้นจะให้เสียงเบสมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า คนออกแบบเขาตั้งใจที่จะใช้ปริมาตรของตัวตู้ไปเพื่อสร้างรายละเอียดเสียงในย่านใดเป็นพิเศษ sound spectrum for music instruments อย่าลืมว่า ความถี่เสียงของดนตรีที่เราฟังทั้งหมดนั้นเป็นย่านเสียงที่กว้างมาก เอาแบบละเอียดๆ ก็ดูจากภาพประกอบด้านบน จะเห็นว่า …

Read More

roon core, roon remote, roon endpoint, roon ready ทั้งหมดนี้คืออะไร.? สัมพันธ์กันอย่างไร.?

วันก่อนมีเพื่อนนักเล่นฯ มีข้อสงสัยถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องของ “Roon Ready” คือ เขาสงสัยว่า external DAC ที่เขาใช้อยู่ระบุว่าเป็น Roon Ready แต่เพราะเหตุใด.? เมื่อเปิดแอพฯ roon บนสมาร์ทโฟนเพื่อจะเล่นไฟล์เพลงด้วยแอพ roon บนสมาร์ทโฟน แต่ทำไมเขาจึงไม่สามารถเชื่อมต่อกับ external DAC ได้.??

Read More

ตัวกรองไฟ (Power Conditioner) ช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียงให้กับชุดเครื่องเสียงได้อย่างไร.?

โดยพื้นฐานของอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกชิ้น ยกเว้นลำโพงพาสซีฟ ต้องการกระแสไฟฟ้าในการทำงาน และด้วยเหตุที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้านเรา ล้วนดึงกระแสไฟมาจากตู้ไฟในบ้าน (consumer unit) ทั้งสิ้น นั่นทำให้ตู้ไฟในบ้านทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น และเนื่องจากไฟฟ้าที่ไปหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current = AC) จึงมีกระแสไฟที่ไหลกลับออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าย้อนไปที่ตู้ไฟเมนของบ้าน ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดจะปล่อย “สิ่งแปลกปลอม” ที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น สัญญาณรบกวน (noise) ต่างๆ ปะปนไปกับกระแสไฟฟ้า และเล็ดลอดเข้าไปสร้างปัญหาให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวอื่นๆ

Read More

ขั้วต่อ “DIN connector” คืออะไร.? เอาไว้ใช้ทำอะไร.?

DIN connector เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสัญญาณที่กำหนดขึ้นมาเมื่อช่วงต้นทศวรรต ’70 โดยสถาบันกำหนดมาตรฐานสากลของเยอรมันที่ชื่อว่า Deutsches Institut fur Normung (DIN) มาตรฐาน DIN มีอยู่หลายรูปแบบ แยกกันไปตามรูปแบบของขั้วต่อที่ใช้ต่อเชื่อม อาทิเช่น

Read More