แบบสั้นๆ :
– MQA | ย่อมาจากคำว่า “Master Quality Authenticated”
– MQA | เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการเข้ารหัสสัญญาณเสียง Hi-Res Audio
– MQA | คิดค้นโดย Meridian
– MQA | ต้องการ decoder ในขั้นตอนเพลย์แบ็ค เพื่อดึงสัญญาณ Hi-Res Audio ออกมา
ต่อไปคือแบบยาวววววว พร้อมดราม่า … :
ทำไมต้องมี MQA ?
คนที่จะให้คำตอบได้ตรงประเด็นจริงๆ ก็ต้องเป็นคุณ Bob Stuart หนึ่งในสองของผู้ก่อตั้งแบรนด์ Meridian นั่นเอง เหตุผลก็เพราะเขาคนนี้แหละ เป็นคนให้กำเนิด MQA ขึ้นมา
Bob Stuart ขณะบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยี MQA ให้สื่อฟัง ในงาน CES เมื่อปี 2015
ข้อมูลต่อไปนี้ ผมได้อ้างอิงจากบทความของสื่อออนไลน์หลายๆ สำนักที่ไปร่วมในงานแถลงข่าวเปิดตัว MQA ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2015 ขอเริ่มด้วยบทเกริ่นนำของ Bob Stuart ก่อน จากนั้นค่อยตามด้วยเนื้อหาที่ Bob บรรยายให้กับผู้สื่อข่าวฟังในวันนั้น
“.. When we think about sound quality, most of us think CD is better than cassette. Consumers found cassettes quite convenient, but CD was better because it had a pause button, and you didn’t have to rewind it. These days, downloading is convenient, particularly if you have a good cloud system behind it, and streaming is even more convenient. This tells a story of how consumers behave, but also how the quality has gone down.”
“.. เมื่อเรานึกถึงคุณภาพเสียง, เราส่วนใหญ่มักคิดว่า CD ดีกว่าเทปคาสเส็ท เพราะว่ามันมีปุ่ม pause ไว้หยุดเล่นค้างไว้ตรงตำแหน่งไหนก็ได้ โดยที่คุณไม่ต้องกรอกลับเหมือนเทป ยุคนี้ ดาวน์โหลดมีความสะดวก โดยเฉพาะถ้าคุณมีระบบคราวน์เน็ทเวิร์คที่ดี การดาวน์โหลดก็จะยิ่งสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นไปอีก. เรื่องนี้บอกให้เรารู้ถึงลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป (ที่นิยมความสะดวก) แต่ในขณะเดียวกัน มันก็บอกให้เรารู้ว่าคุณภาพเสียงด้อยลงไปอย่างไร..”
คุณบ๊อบ กำลังสรุปว่า คนทั่วไปมักนึกถึงความสะดวกสบายมาก่อนคุณภาพเสียง..
อือมม.. น่าสนใจ
แล้วไงต่อ ..?
“.. MQA is about trying to put the quality back but keep the convenience. It’s based on a lot of research over the last several years. Key insights from the auditory sciences and digital-sampling theory lead us to a method of capturing audio that is better and clearer sounding than conventional digital audio.”
“.. MQA คือความพยายามที่จะคืนคุณภาพเสียงกลับมาพร้อมกับยังคงรักษาความสะดวกไว้ด้วย อาศัยพื้นฐานที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่พบจากรายงานทางวิทยาศาตร์เกี่ยวกับการได้ยินกับทฤษฎีดิจิตัล แซมปลิ้ง นำเราไปสู่วิธี ‘จับ‘ สัญญาณเสียงที่ (ให้คุณภาพ) ดีกว่า และเป็นเสียงที่ชัดเจนมากกว่าดิจิตัล ออดิโอทั่วไป..”
โอ้วว.. นี่มันอุดมคติเลยนะเนี่ย.!
ว่าแต่ ทำได้ไง.??
“.. The crux of it is this—the timing data contained in the ultrasonic frequency range has value when it comes to precisely reproducing audible frequencies, but it takes up far too much bandwidth using conventional PCM sampling.
Meridian’s solution is packaging the audible spectrum with the timing data from the inaudible spectrum as metadata. The result is a file that plays like standard CD-quality PCM audio on a regular player, but on an MQA-enabled player, it has the precision of hi-res audio.”
“.. ปมของเรื่องก็คือ ข้อมูลในส่วนที่เป็น timing ของความถี่ในย่านที่สูงมากๆ ระดับซุปเปอร์โซนิค (ซึ่งมนุษย์ไม่ค่อยจะได้ยิน แต่) มันเป็นส่วนประกอบที่มีค่ามากในการคืนรูปกลับมาเป็นสัญญาณเสียง แต่ความถี่ (ของสัญญาณไฮเรซฯ) มันไปไกลมากเกินไปเมื่อใช้วิธีการแปลงด้วย PCM
แนวทางแก้ปัญหาของ Meridian ก็คือ ทำการ ‘ห่อ‘ ความถี่ที่หูมนุษย์สามารถรับฟังได้ พร้อมกับข้อมูลที่เป็น timing ของความถี่ในย่านที่หูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินออกมาในรูปของ ‘ชุดข้อมูล‘ (metadata) ผลลัพธ์ได้ออกมาเป็นไฟล์ที่ให้คุณภาพเสียงเทียบเท่าคุณภาพที่ได้จากมาตรฐาน CD ที่ได้จากการเล่นแผ่นซีดีบนเครื่องเล่นซีดีทั่วไป (ถ้านำไปเล่นผ่าน DAC ทั่วไป) แต่ถ้านำไปเล่นผ่าน DAC ที่รองรับ MQA จะได้คุณภาพเสียงออกมาในระดับ Hi-Res Audio ที่เที่ยงตรง.”
คำว่า “เที่ยงตรง” หรือ precision ที่บ๊อบใช้ในการบรรยายข้างบนนั้น ได้รับการอธิบายเพิ่มเติมว่า ได้มาจากความพยายามรักษาคุณสมบัติในส่วนของ “Impulse response” ของสัญญาณไฮเรซฯ ต้นฉบับเอาไว้ ซึ่งคุณสมบัติตัวนี้นี่แหละที่ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงนั้นอย่างที่ควรจะได้ยินจริงๆ ตอนที่ไฟล์นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากสตูดิโอ..
อือมม.. ชักเริ่มสนุกแล้วซิ!
มาดูข้อมูลทางเทคนิคที่ลึกลงไปอีกสักนิด..
In addition, the technology authenticates what is digitized at the studio as well as the resulting output from your DAC, making sure they sound the same. Bob says the result is an exact and verified copy of what the artist approved, unaltered by variations in timing between different DACs. Furthermore, when you play an MQA file in a player that doesn’t have an MQA decoder, it still offers CD quality sound and backward compatibility.
คุณบ๊อบเน้นย้ำว่า เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับฟอร์แม็ต MQA นี้จะ “รับรอง” ให้คุณมั่นใจได้ว่า สัญญาณเพลงต้นฉบับอะนาลอกที่ถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิตัลในสตูดิโอ (และเข้ารหัสเป็น MQA) กับสัญญาณอะนาลอกที่ได้จากไฟล์ MQA ซึ่งผ่านออกมาจากเอ๊าต์พุตของ DAC ที่รองรับ MQA จะมีลักษณะที่ “เหมือนกัน” ทุกประการ และบ๊อบยังได้ยืนยันอีกว่า เสียงที่ได้จากฟอร์แม็ต MQA จะเหมือนกับต้นฉบับที่ศิลปินให้การรับรองจากสตูดิโอด้วย ซึ่งข้อมูล time domain ของสัญญาณต้นฉบับที่บรรจุอยู่ในไฟล์ MQA จะไม่ถูกรบกวนโดย timing อันหลากหลายที่ DAC แต่ละตัวใช้อยู่ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคุณเล่นไฟล์ MQA ผ่านเครื่องเล่นที่ไม่มีตัวถอดรหัส MQA ไฟล์ MQA ตัวนั้นก็ยังให้เสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่าระดับ CD และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องเล่นเก่าๆ ได้
แสดงว่า สัญญาณดิจิตัล ไฮเรซฯ ที่ถูกแพ็คอยู่ใน MQA จะไม่ถูก up/downconvert โดยซอฟท์แวร์ที่ใช้เล่นไฟล์นั่นเอง เพราะถ้าเล่นไฟล์ MQA ผ่านโปรแกรมเพลเยอร์ที่ไม่รองรับ MQA เอ๊าต์พุตที่ได้ก็จะอยู่แค่ระดับ CD quality เท่านั้น ข้อมูลส่วนที่เป็นไฮเรซฯ จะไม่ถูกดึงออกมาใช้เลย
Because MQA does not encode all the ultrasonic information directly, but rather as metadata, the resulting file size and bitrate are substantially less than high-resolution PCM files. How much less? According to Bob, MQA files are about 5% the size of uncompressed 24/384 PCM files. As a result, they can be easily downloaded and even streamed without requiring lots of storage capacity or bandwidth, making them much more convenient that conventional high-res audio.
เพราะ MQA ไม่ได้ทำการเข้ารหัสข้อมูลของสัญญาณระดับอัลตร้าโซนิคเข้ามาโดยตรง แต่เก็บมาในรูปของ “ชุดข้อมูล” (metadata) อย่างที่ว่า เป็นผลให้ขนาดของไฟล์เล็กกว่าไฟล์เนทีฟไฮเรซฯ PCM มาก เล็กกว่ามากแค่ไหน.? บ๊อบระบุว่า ไฟล์ MQA มีขนาดประมาณ 5% เมื่อเทียบกับขนาดของไฟล์ PCM 24/384 แบบไม่บีบอัด
โอเค! สรุปสั้นๆ สำหรับตอนแรกของ MQA : The Series คือทำความรู้จักกับ MQA แบบพื้นๆ ก็พอจะได้ไอเดียกันแล้ว ตอนท้ายๆ ชักเริ่มลงเทคนิคลึกมากขึ้น ถ้ายังสนใจ อยากรู้ข้อมูลทางเทคนิคมากกว่านี้เชิญชวนให้คลิ๊กอ่านต่อตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ได้เลยครับ ..
***************
MQA The series
ตอนที่ 2 : วิธีสร้างไฟล์ MQA จากสตูดิโอ | Link
__________
MQA The series
ตอนที่ 3 : เล่นไฟล์ MQA | Link