สารพัด – สารพัน เกี่ยวกับ “ลำโพงซับวูฟเฟอร์” – กี่แชนเนลถึงจะพอ.?

คำว่า สมบูรณ์แบบไม่เคยมีในโลก และไม่เคยปรากฏว่ามีในวงการเครื่องเสียงและโฮมเธียเตอร์ แม้ว่าทุกสิ่งอย่างในวงการเครื่องเสียงและโฮมเธียเตอร์ จะถูกกำหนดเป็น มาตรฐานออกมา เพื่อให้คงคาพยพทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกันอยู่ในวงการนี้ สามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบภาพ (Visual) และระบบเสียง (Audio) ที่ใช้กันอยู่ในวงการโฮมเธียเตอร์ต่างก็มีระบบแบบแผนที่กำหนดเป็น มาตรฐานเอาไว้ทั้งสิ้น

ในวงการโฮมเธียเตอร์นั้น ต้องยอมรับว่า บริษัท Dolby Laboratories ทรงอิทธิพลมาก เป็นผู้อยู่เบื้องหลังมาตรฐานของระบบเสียงที่ใช้ในวงการเครื่องเสียงและโฮมเธียเตอร์มาเป็นเวลานานมากแล้ว เรียกว่าตั้งแต่เริ่มต้นมีระบบโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นต์นั่นเลย

Dolby Labs. ถูกวางตัวให้เป็นคนกำหนดมาตรฐานของระบบเสียงเซอร์ราวนด์ที่ใช้ในโฮมเธียเตอร์มาตั้งแต่ยุค Hi-Fi Stereo ที่ใช้กับเทป VHS และพัฒนามาเป็น Dolby Pro-Logic ที่ใช้กับฟอร์แม็ต Laser Disc กับ VHS ก่อนจะเริ่มเข้าสู่โดเมนดิจิตัลเต็มตัวด้วยการออกแบบระบบเสียง 5.1 ch แท้ๆ ที่แยกสัญญาณทั้ง 6 แชนเนล (5+.1) เด็ดขาดจากกันเป็นครั้งแรก ชื่อว่าระบบเสียง Dolby AC-3 หรือ Dolby Digital โดยบันทึกลงบนแผ่น DVD ฟอร์แม็ตที่บริษัท มัตสึชิตะ ของญี่ปุ่นเป็นคนคิดค้นขึ้นมา จนมาถึงยุคของฟอร์แม็ต Blu-ray และ UHD 4K ก็ยังคงเป็น Dolby Labs. ที่ควบคุมมาตรฐานของระบบเสียงที่ใช้กับระบบโฮมเธียเตอร์ที่บันทึกภาพและเสียงลงบนแผ่น Blu-ray และ UHD 4K โดยออกแบบระบบเสียงเซอร์ราวนด์รูปแบบใหม่ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “Immersive Audio” ซึ่งก็คือระบบเสียง Dolby Atmos ซึ่งเป็นระบบเสียงเซอร์ราวนด์ที่สุดแสนมหัศจรรย์ เพราะเป็นระบบเสียงฟอร์แม็ตแรกที่สามารถให้สนามเสียงที่ห้อมล้อมตัวผู้ชมได้ครบทั้ง 360 องศาจริงๆ

จำนวนลำโพงรายรอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ส่วน ลำโพงซับวูฟเฟอร์” …

โดยปกติแล้ว ลำโพงซับวูฟเฟอร์” (Subwoofer) ที่ใช้วงการเครื่องเสียงจะครอบคลุมการทำงานของความถี่ในย่านต่ำ ตั้งแต่ 200Hz ลงไปถึง 20Hz ในขณะที่วงการโปรเฟสชั่นแนลกำหนดขอบเขตไว้ตั้งแต่ 100Hz ลงไปจนถึง 20Hz ส่วนวงการภาพยนตร์นั้น ตั้งแต่เริ่มมีระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ch ออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1992 ทาง Dolby Labs. ได้กำหนดให้ ลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ใช้ในระบบเสียงเซอร์ราวนด์ รับหน้าที่ในการถ่ายทอดความถี่เสียงของแชนเนล .1 (point one) ที่เป็นสัญญาณ Low-Frequency Effects ของระบบ โดยเรียกย่อๆ ว่าสัญญาณ “LFEซึ่งกำหนดช่วงความถี่ให้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ LFE ตัวนี้ทำงานอยู่ในเร้นจ์แค่ 1 ใน 10 ส่วนของย่านความถี่ทั้งหมดที่ลำโพงรายรอบทั้ง 5 แชนเนลทำงาน นั่นคือตั้งแต่ 120Hz ลงไปจนถึง 20Hz

ถ้าสังเกตจากแผนผังในการจัดวางลำโพงสำหรับระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ch ที่โดลบี้ แล๊ปฯ กำหนดเอาไว้เป็นมาตรฐานนั้น มีใช้ลำโพงซับวูฟเฟอร์อยู่แค่เพียงตัวเดียวเท่านั้น แต่ทว่า หากคุณตามอ่านบทความที่ผู้เชี่ยวชาญในวงการโฮมเธียเตอร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเขียนถึงการติดตั้งและการเซ็ตอัพระบบเสียง ส่วนใหญ่จะใช้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ในระบบ มากกว่าหนึ่งตัวแทบจะทั้งนั้น..???

เมื่อเป็นเช่นนั้น คำถามก็คือ :

Iในเมื่อสัญญาณ LFE (.1 ch) มีอยู่แค่ 1 แชนเนล ถ้าเซ็ตอัพโดยใช้ลำโพงซับวูฟเฟอร์มากกว่า 1 ตัวถือว่า ผิดหรือไม่.?

IIถ้าคำตอบของคำถามแรกคือ ไม่ผิดถ้างั้น.. ในการเซ็ตอัพระบบเสียงในห้องหนึ่งๆ ควรจะใช้ซับวูฟเฟอร์กี่ตัวถึงจะดี.?

III – และ ถ้าคำตอบของคำถามแรกคือ ไม่ผิดควรจะเลือกลำโพงซับวูฟเฟอร์แบบไหนมาใช้งานร่วมกัน.?

ผมเอาคำถามนี้ไปค้นหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญในวงการโฮมเธียเตอร์ของประเทศไทยมาให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณามุมมองของแต่ละท่านกันดู เชิญทัศนาครับ..

mm

About ธานี โหมดสง่า

View all posts by ธานี โหมดสง่า