ทำความเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับ “พื้นฐานของเสียง” สำหรับนักเล่นเครื่องเสียง

“เสียง” ในธรรมชาติเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่ไม่มีตัวตน เราไม่สามารถมองเห็นเสียงได้ด้วยตา แต่สามารถสัมผัสเสียงได้ด้วยประสาทหูผ่านการได้ยิน และสัมผัสได้ด้วยผิวหนัง ผ่านจากการสัมผัสกับพลังงานของคลื่นเสียงที่ผลักดันมวลอากาศจนแผ่มาถึงตัวเรา

Read More

การเซ็ตอัพชุดเครื่องเสียง กับสถานการณ์ที่ต้องเลือก

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนที่ทำการเซ็ตอัพชุดเครื่องเสียงจะคาดหวัง “เสียงที่ดีที่สุด” จากชุดเครื่องเสียงที่ตัวเองลงมือเซ็ตอัพ หากแต่ว่า การที่จะทำให้ได้มาซึ่ง “เสียงที่ดีที่สุด” จากชุดเครื่องเสียงแต่ละชุดนั้น มันมีปัจจัยมากมายที่นักเซ็ตอัพจะต้องประสบ ซึ่งบ่อยมากในบางสถานการณ์นั้น จะมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการให้ได้มาซึ่งเสียงที่ดีที่สุดจากเครื่องเสียงชุดนั้น

Read More

ทำไม? เราควรให้เวลาฟังนานหน่อย.. หลังจากเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นใหม่ลงไปในซิสเต็ม

“ได้อย่าง – เสียอย่าง” ไม่ใช่เพลงของอัสนีย์–วสันต์ แต่ความหมายมันใช่ เคยมั้ยที่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องเสียงชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือทำการปรับแต่งชุดเครื่องเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป ตอนแรกฟังแล้วว่าเสียงมันดีขึ้นแน่ๆ แต่ไหงพอฟังไปนานๆ กลับรู้สึกว่า แบบเก่าดีกว่า.? เชื่อว่าต้องมีคนเคยพบกับประสบการณ์นี้มาแล้วอย่างแน่นอน เคยสังสัยมั้ยครับว่า เพราะอะไร.? และเกิดอะไรขึ้น.?

Read More

เกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลสำหรับการเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพง

สิ่งที่ยากที่สุดในการเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพงคือ “การฟังเพื่อสรุปผล” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพง เพราะถ้าผู้ที่ทำการเซ็ตอัพฯ ฟังและวิเคราะห์ผลจากการขยับตำแหน่งแต่ละครั้งออกมาผิดพลาด จะทำให้การขยับตำแหน่งครั้งต่อไปขาดทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ มิหนำซ้ำ การขยับลำโพงที่ผิดพลาดไปจากตำแหน่งที่ถูกที่ควร ก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้หนักหนามากขึ้นไปกว่าเดิม

Read More

การปรับ “ไบอัส” สำหรับแอมป์หลอดคืออะไร? ทำไมต้องปรับ.??

ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ การปรับไบอัสให้กับแอมป์หลอด เป็นปฏิบัติการณ์ที่มีวัตถุประสงค์แบบเดียวกันกับการ ปรับตั้งรอบเดินเบา (idle) ของเครื่องยนต์นั่นเอง แม้ว่าปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีส่วนช่วยควบคุมรอบของเครื่องยนต์แล้วก็ตาม แต่โดยหลักการแล้ว ทั้งการไบอัสแอมป์หลอดและการตั้งรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ มันใช้ไอเดียเดียวกัน นั่นคือ “จัดสมดุล” ให้เกิดขึ้นระหว่างสองสิ่งที่ผสมผสานกันในการทำงาน

Read More

อะไรคือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “เสียงที่เหมือนจริง”.?

เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า หูฟังตัวโน้น–ตัวนี้ “ให้เสียงเหมือนจริง” กันอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าวิเคราะห์กันให้ลึกซึ้งลงไปจริงๆ แล้ว คำว่า “เหมือนจริง” ที่พูดๆ กันนั้น มันมีความหมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าคำว่า “เหมือนจริง” ที่ว่ากันนั้น หมายถึงความเหมือนจริงอย่างที่เพลงนั้นถูกบันทึกมาในสตูดิโอ ก็ต้องกลับไปดูว่า เพลงที่ถูกอ้างถึงนั้น มีกระบวนวิธีการบันทึกเสียงมาแบบไหน.? ถ้าเพลงนั้นถูกบันทึกเสียงมาด้วยกระบวนการบันทึกเสียงแบบที่เรียกว่า multi-track recording ซึ่งเป็นการบันทึกแยกเสียงแต่ละชิ้นดนตรีแล้วนำมา mixed รวมกันทีหลัง แบบนี้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า mixing engineer ได้ใช้เทคนิคอะไรเข้าไปทำการปรับจูนเสียงดนตรีแต่ละชิ้นบ้าง ซึ่งปกติแล้ว ในขั้นตอนการมิกซ์ดาวน์ …

Read More

ลำโพงบ้าน vs หูฟัง = ความเหมือนที่แตกต่าง

ในฐานะของนักทดสอบเครื่องเสียง มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามมองหามาตลอด สิ่งนั้นคือ “บรรทัดฐาน” หรือ “เกณฑ์” ที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินคุณภาพของอุปกรณ์เครื่องเสียง ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมามันกระตุ้นเตือนให้ผมตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องเสียงพกพาที่ใช้หูฟังที่มีขนาดเล็กกว่าลำโพงบ้านมาก แต่แปะติดอยู่ใกล้กับหูของเรามากกว่าลำโพงเครื่องเสียงบ้าน ด้วยสภาพแวดล้อมในการฟังที่ต่างกันมากเช่นนี้ เครื่องเสียงพกพาจึง (น่าจะ) ต้องการเกณฑ์ในการตัดสินคุณภาพต่างจากเครื่องเสียงบ้าน (หรือเปล่า?)

Read More

มาทำความรู้จักกับแผ่นเพลงฟอร์แม็ตใหม่ MQA-CD กันเถอะ.!

MQA-CD เป็นคำสมาธ มาจากการเอา “ตัวย่อ” สองตัว คือ “MQA” กับ “CD” มารวมกัน ซึ่งตัวย่อตัวแรกคือ MQA มาจากคำเต็มว่า “Master Quality Authenticated” เป็นฟอร์แม็ตของสัญญาณเสียงรูปแบบหนึ่งที่ติดค้นโดยบริษัท Meridian จากประเทศอังกฤษ ส่วนคำว่า CD ก็มาจาก Compact Disc คือมาตรฐานของแผ่นบันทึกเสียงเพลงที่ Sony/Philips คิดค้นเอาไว้นั่นเอง การถือกำเนิดขึ้นมาของแผ่น MQA-CD นับเป็นความพยายามที่จะเพิ่มเติมทางเลือกให้กับกลุ่มของคนที่ยังคงใช้วิธีเล่นเพลงจากแผ่นบันทึกสำเร็จ …

Read More

“ความละเอียดของจอ” ยิ่งมากยิ่งดี จริงหรือไม่.?

“ความละเอียดของจอ” หรือ panel resolution หมายถึง “จำนวนพิกเซล” หรือจุดย่อยของภาพที่ปรากฏอยู่บนจอทีวีแต่ละตัว ซึ่งในอดีต สมัยที่เทคโนโลยีทีวีทั่วโลกใช้พื้นฐาน analog ในการเผยแพร่สัญญาณภาพวิดีโอ ในยุคนั้น เรากำหนดความละเอียดของจอทีวีด้วยหน่วยวัดที่เรียกว่า “เส้น” หรือ line ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรกลางที่ดูแลอุตสาหกรรมทีวี นั่นคือฟอร์แม็ต PAL ที่นิยมใช้กันในยุโรปและเอเซีย ซึ่งมีความละเอียดของสัญญาณอยู่ที่ 625 เส้น กับอีกฟอร์แม็ตที่นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาคือฟอร์แม็ต NTSC ซึ่งมีความละเอียดของสัญญาณอยู่ที่ 525 เส้น ต่อเมื่อวงการทีวีเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุค digital …

Read More

Network Audio System : พื้นฐานการเชื่อมต่อระบบ สำหรับการเล่นไฟล์เพลงด้วยเน็ทเวิร์ค

“เน็ทเวิร์ค” (network) หรือ “คอมพิวเตอร์ เน็ทเวิร์ค” (computer network) คือ ระบบเครือข่ายที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคหลากหลายชนิดที่ติดตั้งอยู่ในเน็ทเวิร์คเดียวกัน สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันได้ ซึ่งกลไกสำคัญที่ทำให้ระบบเน็ทเวิร์คสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ วิศวกรรมทางซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ (computer protocol architecture)

Read More