เพราะมาตรฐานของไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่งเข้ามาในบ้านของเราเป็นแบบ 2 ขา คือ Line กับ Nuetral ไม่มีสายกราวนด์มาให้ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำการติดตั้งสายกราวนด์เพิ่มเติมเข้าไปเอง ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องคือต้องทำการตอกแท่งกราวนด์ทองแดงลงไปในดิน แล้วต่อสายกราวนด์จากแท่งทองแดงขึ้นไปเชื่อมต่อไว้ที่ “ขั้วต่อสายดิน” (Grounding Terminal Bar) ที่อยู่ใน “ตู้เมนสวิทช์” หรือตู้เมนไฟที่อยู่ในบ้านเรา
แผนผังการเชื่อมต่อระบบไฟที่เสริมระบบกราวนด์อย่างถูกต้อง (ภาพตั้งต้นจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ภาพประกอบด้านบนเป็นแผนผังการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าที่มีสายกราวนด์ที่ถูกต้อง แต่ยังมีบ้านจำนวนมากที่ไม่มีการเชื่อมต่อระบบกราวนด์ที่ถูกต้อง คือไม่มีการตอกแท่งกราวนด์ลงดินเหมือนในภาพด้านบน แม้ว่าตู้ไฟที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมีจุดที่เรียกว่า “ขั้วต่อสายดิน” (Grounding Terminal Bar) ให้มาเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสายกราวนด์มาด้วย แต่ถ้าไม่ได้มีการตอกแท่งทองแดงลงดินแล้วโยงสายกราวนด์มาที่ขั้วต่อสายกราวนด์ที่่ว่านี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นระบบไฟที่มีกราวนด์ที่ถูกต้อง
หรือในบางกรณีที่พบก็คือ แม้ว่าจะมีการตอกแท่งกราวนด์ทองแดงลงดินและเดินสายมาที่ตู้แล้ว แต่ถ้าช่างไฟไม่ได้ทำการเดินสายกราวนด์มาเชื่อมกับขั้วต่อสายกราวนด์ของปลั๊กบนผนัง แบบนี้ก็ถือว่า ปลั๊กผนังชุดนั้นไม่มีกราวนด์เหมือนกัน
ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์ central virginia home inspections
ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างของปลั๊กไฟบนผนังที่มีการต่อสายกราวนด์เทียม หรือกราวนด์หลอกเอาไว้ ด้วยการใช้สายทองแดงโยงระหว่างขั้ว Nuetral กับ Ground เข้าด้วยกัน ไม่ได้เดินสายกราวนด์มาจากตู้ไฟ ซึ่งการต่อสายกราวนด์ลักษณะนี้เรียกว่า “False Ground” หรือ กราวนด์เทียม ไม่มีผลในการช่วยตัดไฟ และไม่ได้ทำให้เสียงดี
ลักษณะการเชื่อมต่อกราวนด์แท้ที่ถูกต้อง
ลักษณะการเชื่อมต่อกราวนด์เทียม
การเชื่อมต่อกราวนด์เทียมแบบภาพข้างบนนี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ แถมมีอันตรายในการใช้งานด้วย โปรดระวัง.. !! /
***************
บทความที่เกี่ยวข้อง
– ตัวกรองไฟ (Power Conditioner) ช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียงให้กับชุดเครื่องเสียงได้อย่างไร.?